อัพเดทสถิติ Digital 2020 หลังโควิด19 จาก We Are Social

อัพเดทสถิติ Digital 2020 หลังโควิด19 จาก We Are Social

ครึ่งปีแรกผ่านไปไวเหมือนโกหก แต่กว่าจะผ่านครึ่งปีแรกไปได้ก็ช่างเป็นอะไรที่แสนสาหัสกันถ้วนหน้า เพราะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 นั้นส่งผลต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก และนั่นก็ทำให้รายงานสถิติของ Digital 2020 ที่สรุปครึ่งแรกของปีนี้มีหมวดหมู่ COVID-19 เป็นหัวข้อพิเศษจากทุกปีของ We Are Social ครับ จากรายงานทั้งหมด 186 หน้า ผมขอคัดมาแค่บางส่วนที่คิดว่าน่าสนใจและสำคัญต่อนักการตลาดไทยให้ได้อัพเดทกัน ส่วนใครที่สนใจอยากดาวน์โหลดไฟล์รายงาน Digital 2020 in July จาก We are social ฉบับนี้เพื่อเอาไปใช้ทำรายงานก็สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ที่ท้ายบทความ

ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันดีกว่าครับว่าสรุปภาพรวมของ Digital 2020 ในครึ่งปีแรกเป็นอย่างไร เพื่อที่เราจะได้ทำความเข้าใจและปรับแผนการตลาดในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ครับ

คนเสิร์ชหาอะไรในช่วงล็อคดาวน์

จากรูปภาพจะเห็นว่าสิ่งที่คนเสิร์ชหากันถ้วนหน้าและทั่วโลกคือวิธีการที่จะสามารถอยู่ในบ้านได้โดยไม่เครียดมาก หรือวิธีการรับมือกับการ Lockdown เพราะ COVID-19 นั่นเอง

ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเรื่องนี้ถึงทำให้ผู้คนเครียดมากนัก เพราะเดิมทีมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม แล้วยิ่งสังคมเมืองที่เราต้องยอมอยู่ในพื้นที่เล็กลงและไปแชร์พื้นที่สาธารณะนั้นไม่สามารถทำได้ ทำให้เราต้องรู้สึกเหมือนอยู่ในพื้นที่สี่เหลี่ยมแคบๆ ออกไปไหนก็ไม่ได้ ลำพังผมอยู่บ้านทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้นยังรู้สึกแปลกไม่น้อยในช่วงแรก นึกไม่ออกเลยว่าคนที่อยู่คอนโดห้องเล็กๆ ในตอนนั้นจะใช้ชีวิตกันอย่างไรให้เครียดน้อยลงได้

ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่คนเสิร์ชหาก็สะท้อนถึงพฤติกรรมการที่ต้องล็อคดาวน์อยู่บ้าน ไม่ว่าจะสอนหนังสือลูกยังไง จะยังเจอเพื่อนได้ยังไง จะทำงานได้ยังไง จะทำยังไงให้ลูกอยากพูดคุยกับเรา จะช้อปปิ้งยังไง ซื้ออาหารยังไง จะทำให้สุขภาพกายและสุขภาพใจดีขึ้นได้ยังไง ถ้าไม่สบายจะหาหมอยังไง และสุดท้ายคือจะมีรายได้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

ซึ่งเรื่องสุดท้ายนี้ก็จะเห็นหลายๆ แคมเปญการตลาดในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดมาเพื่อช่วยคนที่ตกงานให้มีงานทำได้มากขึ้น เหมือนอย่างแคมเปญ Five-O-Clock ของร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมแห่งหนึ่งที่จ้างบาร์เทนเดอร์ที่ตกงานให้อัดคลิปการชง Clocktail มาเพื่อรับเงินเยียวยาเล็กๆ น้อยๆ ครับ

ผู้หญิงชอบใช้ Tablet ในช่วง COVID-19

เมื่อดูในรายละเอียดว่าอุปกรณ์แบบไหนที่เรามักใช้กันในช่วง COVID-19 แล้วเมื่อแบ่งตามเพศจะเห็นว่าผู้ชายจะมีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าผู้หญิงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนผู้หญิงเองก็มีสัดส่วนการใช้ Tablet มากกว่าผู้ชาย

Insight นี้น่าสนใจตรงที่ว่า Tablet = Gadget ของผู้หญิงใช่หรือไม่? ซึ่งเป็นสิ่งที่นักการตลาดที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงน่าจะต้องลองศึกษาข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติมในบริบทของบ้านเรา

Streaming โตกว่า 54% ในช่วง Lockdown

จากข้อมูลจะเห็นว่าตัวเลขการรับชมรายการผ่านทางออนไลน์ต่างๆ โตขึ้นกว่า 54% ถ้าดูจากบริบทบ้านเราก็ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมคนจำนวนหนึ่งถึงได้โพสว่าไม่เหลืออะไรใน Netflix ให้ดูแล้ว และก็เต็มไปด้วยคอนเทนต์แนะนำซีรีส์ดีๆ มากมายเท่าที่จะสรรหามาได้

แต่เมื่อถามว่าพวกเค้าจะยังคงทำต่อไปมั้ยหลังหมด Lockdown กลับพบข้อมูลตามภาพด้านล่างครับ

ดูภาพรวมเหมือนกิจกรรมที่เคยทำเยอะๆ ในช่วงล็อคดาวน์อยู่บ้านนั้นหายไปเกินครึ่ง จะมีก็แต่ Podcast หายไปถึง 2 ใน 3 จะมีก็แต่การถ่ายคลิปวิดีโอของตัวเองลงออนไลน์ที่น่าจะหมายถึง TikTok ที่ยังอยู่ถึงครึ่งหนึ่งจากช่วงล็อคดาวน์

เพศไหน ช่วงอายุใด ที่ยังแพลนจะ Work From Home ต่อไป

จากรายงาน Digital 2020 in July ของ We Are Social มีการพูดถึงสัดส่วนของแต่ละเพศและแต่ละช่วงวัยว่าคนกลุ่มไหนแพลนว่าจะยัง Work From Home ต่อไป ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิงพอสมควร ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่าบริษัทในบ้านเราจะมีสักเท่าไหร่ที่สามารถทำให้การ Work From Home ยังคงอยู่ได้แม้โควิด19 จะผ่านไปก็ตาม

Web Traffic จากมือถือลดลงแต่คอมพิวเตอร์กลับโตมาก

ก่อนหน้านี้ไม่นาน Traffic หลักๆ ยังคงมาจากโทรศัพท์มือถือ แต่เมื่อดูจากตัวเลขล่าสุดนี้จะเห็นว่า Traffic จากทุกช่องทางเริ่มลดลงเมื่อเทียบเป็นสัดส่วน เพราะไปโตในส่วนเดียวที่เป็น Traffic จากคอมพิวเตอร์

นั่นหมายความว่าคนจำนวนมากน่าจะเริ่มไม่พอใจกับการใช้หน้าจอเล็กๆ และก็เลยเริ่มหาคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะ Desktop หรือ Notebook เป็นของตัวเองมาใช้งานมากขึ้น หรืออาจจะบวกเพิ่มกับในช่วง Work From Home ที่บังคับให้ทุกคนต้องมีของเหล่านี้เป็นของตัวเองขึ้นมาเพราะไม่อย่างนั้นก็จะไม่สามารถเรียนหรือทำงานจากที่บ้านได้เหมือนคนอื่นเขาครับ

ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของมือถือไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกเล็กน้อย

34.7 คือความเร็วโดยเฉลี่ยอินเทอร์เน็ตมือถือโดยเฉลี่ยของทั่วโลก จะเห็นว่าเกาหลี สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจีน เป็นท็อปทรีนำหน้าชาวโลกมาก ส่วนไทยเราก็ไม่ได้น้อยหน้าแต่อย่างไร เพราะอยู่ในระดับใกล้ค่าเฉลี่ยของโลกมาก คืออยู่ที่ 33.0 Mbps ครับ

เน็ตบ้านไทยแรงเป็นเบอร์ 3 ของโลก

ในขณะที่อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเราอาจไม่ได้เร็วแรงแซงหน้าใคร แต่เน็ตบ้านไทยกลับมีความแรงเป็นอันดับสามของโลก โดยความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 171.36 Mbps เอาเข้าใจแพคเกจส่วนใหญ่ที่เห็นก็ไป 200+ จนถึง 1 Gbps หมดแล้วด้วยซ้ำ นี่เป็นเรื่องที่น่ายินดีและดีใจในบ้านเรา แต่ก็ไม่รู้ว่าพอ 5G เข้ามาจริงๆ แล้วอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านมือถือของไทยจะพุ่งไปได้ไกลอีกขนาดไหนครับ

Top 20 เว็บที่ชาวโลกชอบเข้า

เมื่อดูข้อมูลของทั้ง Similarweb และ Alexa แล้วจะเห็นว่ามีเว็บโป๊ติดมาถึง 3 อันดับจากทาง Similar ส่วนเว็บจีนก็ติดเว็บยอดนิยมชองชาวโลกไปแล้ว ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจกำลังซื้อของชาวจีนบนโลกดิจิทัลที่อะไรๆ ก็ออนไลน์ คำถามสำคัญของนักธุรกิจและนักการตลาดตอนนี้คือ คุณกำลังปล่อยเงินหยวนให้ลอยหายไปโดยไม่คว้าไว้หรือเปล่าในวันนี้

คนไทยใช้ Voice Search เป็นอันดับ 5 ของโลก

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าจริงแล้วคนไทยส่วนใหญ่ล้ำกว่าที่คิดนะครับ เพราะจากข้อมูลบอกให้รู้ว่าคนไทยเรามีอัตราการใช้ Voice Search หรือการสั่งการด้วยเสียงผ่านอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะมือถือนั้นมากถึง 51% ซึ่งสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก และพฤติกรรมใหม่นี้เองที่จะส่งผลกระทบต่อการทำ SEO อย่างแน่นอนครับ

คนไทยใช้ Image Recognition หรือเสิร์ชหาด้วยภาพสูงเป็นอันดับ 5 ของโลกเช่นกัน

ซึ่งจากข้อมูลหน้านี้เป็นอะไรที่เซอร์ไพรส์ผมมาก ไม่คิดเหมือนกันว่าคนไทยกว่า 53% จะใช้รูปภาพในการค้นหาสิ่งที่อยากรู้ต่อไป เรื่องนี้ทำให้ผมคิดถึงพวกแอปช้อปปิ้งในต่างประเทศที่สามารถเอารูปภาพเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่อยากได้มาเสิร์ชหา จากนั้นตัวระบบก็จะไปหาภาพเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่ใกล้เคียงกันมาที่พร้อมช้อปมาเสริฟให้ถึงหน้าจอครับ

ผู้หญิงใช้ Image recognition มากกว่าผู้ชาย

จากกราฟจะเห็นว่าผู้หญิงในแทบทุกช่วงวัยมีสัดส่วนการใช้ Image regocnition หรือการเสิร์ชหาด้วยภาพมากกว่าผู้ชาย ดังนั้นถ้าแบรนด์ใครมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิง พยายามทำรูปให้เอาไปใช้ค้นหาต่อได้ง่ายนะครับ เพราะรูปภาพกำลังจะกลายเป็น Next SEO ในยุคใหม่

51% ของคนไทยใช้ Ad Blockers

ตัวเลขนี้น่าสนใจว่าคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตกว่าครึ่งมีการใช้ Ad Blockers หรือตัวบล็อคโฆษณาแบนเนอร์ต่างๆ ที่ชอบขึ้นมาวุ่นวาย แน่นอนว่านักการตลาดคงจำเป็นต้องคิดหนักว่าถ้าจะยังทำโฆษณาบนออนไลน์แบบเดิมๆ แล้วจะมีคนที่เห็นตัวเลขนี้จริงๆ เท่าไหร่ หรือควรหันไปทำโฆษณาอย่างไรที่จะทำให้คนอยากเข้ามาดูเรื่องราวที่เราอยากบอกกันแน่ครับ

Social media กลายเป็นช่องทางอัพเดทข่าวสารของคนทุก Gen

จากตัวเลขจะเห็นว่าทุก Gen มีการใช้ Social media เป็นช่องทางในการอัพเดทข่าวสารใหม่รอบตัวอยู่เป็นประจำ แม้แต่กลุ่มคนที่อายุ 55 ปีขึ้นไปก็ยังอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ ผ่านโซเชียลมีเดียไปแล้ว ถ้าดูจากช่องข่าวจริงๆ ก็จะเห็นว่ามีการเลือกเนื้อหาดังๆ บนออนไลน์มาทำเป็นข่าวใหญ่ให้เห็นเป็นประจำ ฉะนั้นวันนี้โซเชียลมีเดียจึงไม่ใช่แค่พื้นที่ในการติดต่อพูดคุยกับเพื่อน แต่เป็นพื้นที่ในการใช้ชีวิตอย่างรอบด้านจริงๆ ครับ

แพลตฟอร์มใดถูกใช้เพื่ออัพเดทข่าวสารมากกว่ากัน

ตัวเลขนี้จะแสดงให้เห็นว่าโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มหลักที่ถูกใช้เป็นช่องทางการอัพเดทข่าวสารรอบตัวก็ยังคงเป็น Facebook แต่ตามมาด้วย YouTube ซึ่งถ้าให้ผมคาดการณ์จากพฤติกรรมก็คือเมื่อเราเห็นอะไรสักอย่างบนหน้าฟีด Facebook แล้วถ้าเราสนใจมันมากพอเราก็จะไปหาข้อมูลเพิ่มเติมต่อบน YouTube ครับ

คนไทย 68% ยอมจ่ายเพื่อ Digital Content

ซึ่งจากข้อมูลจะเห็นว่าคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 68% ในวันนี้ยอมจ่ายเงินเพื่อ Digital Content เช่น Netflix หรือแอปดูหนังฟังเพลงอื่นๆ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกด้วยซ้ำ

และเมื่อลงมาดูในรายละเอียดของช่วงวัยก็พบว่าคนรุ่น Gen Y มีสัดส่วนการใช้เงินจ่ายเพื่อ Digital Content สูงสุด แต่ตามมาติดๆ ด้วย Gen Z ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ดูก็น่าจะเกิดจากการที่คนรุ่นใหม่พร้อมจ่ายเพื่อดู แต่อาจจะยังติดเรื่องกำลังทรัพย์ทำให้ไม่สามารถจ่ายได้มากพอเท่า Gen Y ครับ

Digital Content แบบไหนที่คนยอมจ่าย

จะเห็นว่าอันดับหนึ่งเป็นประเภทวิดีหรือวิดีโอ ตามมาด้วยการฟังเพลง แล้วค่อยเป็นการโหลดเพลง จากนั้นเป็นแอปและก็เกม ส่วนอันดับรั้งท้ายแต่น่าสนใจที่คนกว่า 6% ยอมจ่ายให้ Dating Service ครับ

คนไทยเล่นโซเชียลมีเดียมากถึง 73% ของประชากรทั้งประเทศ

ตัวเลขนี้อาจดูสูงแต่ในความเป็นจริงตัวเลขนี้ไม่ได้มีการขยับมากนักเมื่อเทียบกับตัวเลขปีก่อนที่ผ่านมา ทั้งที่คนไทยกว่า 94% ใช้สมาร์ทโฟนกันถ้วนหน้า แต่คำถามสำคัญก็คือว่าอีกกว่า 20% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนนั้นหายไปไหน ทำไมถึงยังไม่ Go Social ครับ

แต่เมื่อดู Data ให้ลึกขึ้นก็จะเห็นว่าถ้านับจากจำนวนประชากรที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปกลับพบว่าคนที่ Go Social ของไทยนั้นสูงถึง 85% แล้วในวันนี้ ดังนั้นถ้าใครกังวลว่าควรจะทำธุรกิจบนออนไลน์หรือโซเชียลมั้ย ผมว่าข้อมูลนี้น่าจะตอบคำถามได้ควรถ้วนครับ

คนไทยใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียวันละ 2.49 ชั่วโมงโดยประมาณ

ตัวเลขนี้ฟังดูน้อยอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเมื่อดูจากพฤติกรรมตัวเองและมองไปยังคนรอบข้างกลับพบว่าเห็นแต่คนเล่นโซเชียลมีเดียทั้งวัน ซึ่งตรงนี้ต้องไปดูนิยามของคำว่าโซเชียลมีเดียอีกครั้งว่าอะไรบ้างที่ถูกจัดให้เป็นโซเชียลมีเดียครับ

คนใช้โซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มกระจายตัวไปใช้แพลตฟอร์มอะไรบ้าง

หน้านี้คงไม่ต้องอธิบายเยอะ เอาเป็นว่าเซฟเก็บเอาไว้ใช้ในการทำงานทำแพลนกันนะครับ

คนไทยใช้ Social media เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ถึง 56%

ดังนั้นถ้าแบรด์ไหนหรือธุรกิจใครยังไม่มีตัวตนบนโซเชียล ยังไม่มีการทำคอนเทนต์ดีๆ ที่เข้าใจพฤติกรรมการใช้โซเชียลของคน เท่ากับว่าคุณกำลังพลาด 56% ที่อยากรู้จักคุณก่อนตัดสินใจไปอย่างน่าเสียดายครับ

และเมื่อวิเคราะห์ลงลึกแยกตามช่างอายุและเพศของกลุ่มคนที่ชอบค้นหาข้อมูลของแบรนด์ก่อนตัดสินใจบนโซเชียลมีเดียก็จะเห็นว่า ผู้หญิงจะมากกว่าผู้ชายเล็กน้อยในช่วงอายุไม่เยอะ แต่ผู้ชายจะมาเยอะกว่าผู้หญิงเล็กน้อยในช่วงวัย Silver age

COVID-19 ทำให้คนใช้ Social media เพิ่มขึ้น 43%

อัพเดทสถิติและเทรนด์ Digital 2020 จาก We Are Social ครึ่งปีแรกหลัง COVID-19 ช่วง lockdown คนอยู่บ้านเสิร์ชหาอะไรบ้าง และข้อมูลรายละเอียดอีกมากบนโลกดิจิทัล

ข้อมูลชุดนี้น่าเสียดายที่ไม่มีเจาะลึกของคนไทยเหมือนชุดอื่น แต่จากค่าเฉลี่ยของทั้งโลกก็พอที่จะให้นักการตลาดมีข้อมูลบางอย่างไว้อ้างอิงได้ และเมื่อดูในรายละเอียดของแต่ละเพศและแยกตามวัยก็จะเห็นว่าผู้หญิงมีสัดส่วนการใช้โซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้นในช่วงกักตัวอยู่บ้านมากกว่าผู้ชายพอสมควร

COVID-19 ทำเอาผู้ใช้ Video calling เพิ่มขึ้น 35%

อัพเดทสถิติและเทรนด์ Digital 2020 จาก We Are Social ครึ่งปีแรกหลัง COVID-19 ช่วง lockdown คนอยู่บ้านเสิร์ชหาอะไรบ้าง และข้อมูลรายละเอียดอีกมากบนโลกดิจิทัล

แน่นอนว่าแอป Video call ทั้งหลายกลายเป็นที่นิยมมาก จากเดิมที่ไม่เคยมีใครรู้จักก็กลายเป็นว่าทุกคนต่างรู้จักและใช้กันได้อย่างคล่องแคล่วและหลากหลายเหลือเกิน

อัพเดทสถิติและเทรนด์ Digital 2020 จาก We Are Social ครึ่งปีแรกหลัง COVID-19 ช่วง lockdown คนอยู่บ้านเสิร์ชหาอะไรบ้าง และข้อมูลรายละเอียดอีกมากบนโลกดิจิทัล

แล้วเมื่อดูในรายละเอียดก็จะเห็นว่าสัดส่วนการใช้งานแอปการโทรผ่านวิดีโอนั้นเป็นผู้ชายสูงกว่าผู้หญิงมาก

COVID-19 ทำ Video Conferencing โตขึ้น 27%

อัพเดทสถิติและเทรนด์ Digital 2020 จาก We Are Social ครึ่งปีแรกหลัง COVID-19 ช่วง lockdown คนอยู่บ้านเสิร์ชหาอะไรบ้าง และข้อมูลรายละเอียดอีกมากบนโลกดิจิทัล

Video Conference หรือการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอนั้นเติบโตขึ้นมากอย่าปฏิเสธไม่ได้ แอป Zoom เองจากเดิมที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกลายเป็นดังเป็นพลุแตกจนไม่มีใครแทบไม่รู้จักแล้วในวันนี้

อัพเดทสถิติและเทรนด์ Digital 2020 จาก We Are Social ครึ่งปีแรกหลัง COVID-19 ช่วง lockdown คนอยู่บ้านเสิร์ชหาอะไรบ้าง และข้อมูลรายละเอียดอีกมากบนโลกดิจิทัล

เช่นเดียวกันเมื่อวิเคราะห์แยกตามเพศและช่วงวัยก็จะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วผู้ชายมีอัตราการใช้แอปประเภทประชุมทางไกลผ่านวิดีโอออนไลน์สูงกว่าผู้หญิงอย่างเห็นได้ชัด ไม่แน่ใจว่าในส่วนนี้สะท้อนถึงอัตราการเป็นพนักงานประจำในออฟฟิศหรือเปล่าที่บอกให้รู้ว่าผู้ชายยังคงทำงานประจำมากกว่าผู้หญิง

แพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ Video Conferencing ยอดนิยมในช่วง COVID-19

อัพเดทสถิติและเทรนด์ Digital 2020 จาก We Are Social ครึ่งปีแรกหลัง COVID-19 ช่วง lockdown คนอยู่บ้านเสิร์ชหาอะไรบ้าง และข้อมูลรายละเอียดอีกมากบนโลกดิจิทัล

Zoom มีการใช้สูงถึง 300 ล้านครั้งต่อวัน ตามมาด้วย Google Meet แต่มียอดการใช้แค่ 100 ล้านครั้งต่อวัน ตามมาติดๆ ด้วย Microsoft Teams 75 ล้านครั้งต่อวัน และก็เป็น Skype 40 ล้านครั้งต่อวัน ส่วนแพลตฟอร์มของ Cisco นั้นมีอัตราการใช้ต่อเดือนอยู่ที่ 500 ครั้งต่อเดือน ก็เข้าใจได้เพราะเป็นแพลตฟอร์มในระดับองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นครับ

และนี่ก็เป็นในส่วนภาพรวมของครึ่งปีแรกของ Digital Trends จากทั่วโลกของปี 2020 ยังเหลืออีกสองส่วนหลังซึ่งขอเวลาผมอีกนิดนะ เพราะจัดทั้งหมดทีเดียวแล้วคงสลบหมดแรงจริงๆ ขอบคุณ We Are Social ที่คอยสร้างรายงานดีๆ ออกมาให้นักการตลาดอย่างเราได้อัพเดทตลาดทันลูกค้าเสมอครับ

อ่านบทความสรุปรายงาน Digital Trend 2020 ครึ่งปีแรกจาก We Are Social ต่อ > https://www.everydaymarketing.co/knowledge/facebook-trends-digital-2020-we-are-social-covid-19/

Source > https://wearesocial.com/blog/2020/07/digital-use-around-the-world-in-july-2020

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่