เช็คให้ดีวิธี ‘ป้องกันโควิด-19’ 12 เรื่องเข้าใจผิด!อย่าเชื่อ

เช็คให้ดีวิธี ‘ป้องกันโควิด-19’ 12 เรื่องเข้าใจผิด!อย่าเชื่อ
แก้ปัญหาคอม
The short URL of the present article is: https://mistercheckman.com/q4VgK

วันนี้ เรา ได้รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ COVID-19 จากองค์การอนามัยโลก (WHO) และข้อเท็จจริงจากที่ต่างๆ มาให้ทุกคนทำความเข้าใจ เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดได้

 

1 . ยืนตากแดดสามารถฆ่าเชื้อได้

หนึ่งในหลายๆเรื่องเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีการส่งมาให้ แชร์วนๆซ้ำกันอยู่ตลอด ตั้งแต่มีการระบาดของโรค โควิด-19 ตรวจสอบนั้นก็คือ ยืนตากแดดสามารถฆ่าเชื้อได้

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกมายืนยันอีกรอบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ

กรมควบคุมโรค ยืนยันว่า กรณีชวนเชื่อเคล็ดลับฆ่าเชื้อโควิด-19 โดยระบุว่าให้แสงแดดชโลมทั่วตัววันละ 20 นาทีทุกวัน (หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้) แสงแดดจะไปเสริมภูมิคุ้มกันฆ่าเชื้อโควิด-19 ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการยืนตากแดดนั้นสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ โดยเชื้อไวรัสตระกูลโควิด-19 นั้นสามารถทนทานต่อความร้อนได้ถึง 90 องศา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความร้อนจากแสงแดดนั้น มีความร้อนไม่ถึง 90 องศาแน่นอน

แม้จะมีการยืนยันจากกรมควบคุมโรคแล้ว แต่ในเวลาไม่ถึงเดือน วันที่ 5 ม.ค. 2564 ก็มีการนำประเด็นนี้มาแชร์ซ้ำอีกในสื่อโซเชียลมีเดีย ด้วยข้อความเดิมๆว่า ให้ยืนตากแดด วันละ 20 นาทีจะช่วยฆ่าโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้กรมควบคุมโรคให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อป้องกันการแชร์ต่อ โดยระบุว่ามีข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า พบว่าไวรัสชนิดนี้จะตายเมื่อโดนความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานต่อเนื่อง 30 นาที ซึ่งแสงแดดไม่สามารถทำให้เกิดความร้อนในระดับนี้ได้

อีกทั้งผิวหนังของมนุษย์ก็ไม่สามารถทนทานต่อความร้อนและแสงแดดได้นานเช่นกัน ดังนั้น การตากแดดหรืออาบแดดจึงไม่สามารถรักษาและฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ โดยความร้อนจากแสงแดดนั้น มีไม่ถึง 90 องศาแน่นอน

สรุปการแชร์บนโลกออนไลน์ซ้ำๆ ในประเด็นยืนตากแดด เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง เนื่องจาก ไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการยืนตากแดดนั้นสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ โดยเชื้อไวรัสตระกูลโควิด-19 นั้นสามารถทนทานต่อความร้อนได้ถึง 90 องศา แต่ความร้อนจากแสงแดดนั้นไม่ถึง 90 องศา
ที่มา ข่าวปลอม อย่าแชร์! ยืนตากแดด วันละ 20 นาทีช่วยฆ่าเชื้อ COVID-19 – ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม | Anti-Fake News Center Thailand

อย่าเชื่อข้อมูลเท็จ ยืนตากแดดไม่ฆ่าเชื้อโควิด

2.เครื่องเป่ามือ’ ตามห้องน้ำ ‘ฆ่าไวรัสโควิด-19’ ได้?

องค์การอนามัยโลก (WHO) ไขคำตอบไว้ว่า “เครื่องเป่ามือไม่ได้มีประสิทธิภาพในการฆ่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่”

มาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพคือ “ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ ต่อจากนั้นควรใช้กระดาษชำระเช็ดหรือเป่าลมอุ่นให้มือแห้ง”

ส่วนข่าวลือเกี่ยวกับ “ยาปฏิชีวนะ” องค์การฯ ชี้แจงว่าไม่ได้มีผลกับเชื้อไวรัส มีผลกับเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น จึงมิใช่วิธีป้องกันหรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

อย่างไรก็ดี ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจรับยาปฏิชีวนะระหว่างการรักษา เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยได้
ที่มา ไขคำตอบ ‘เครื่องเป่ามือ’ ตามห้องน้ำ ‘ฆ่าไวรัสโควิด-19’ ได้? | XinhuaThai

3.หลอดไฟยูวีสำหรับฆ่าเชื้อ ฆ่าเชื้อ โรคโควิด-19

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ แสง UV เป็นสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีความถี่ที่สูงกว่าช่วงของแสงที่ตาเรามองเห็นได้ปกติ โดยแสง UV-C เป็นแสง UV ที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือเชื้อโรคต่างๆ

ทั้งนี้ การใช้แสง UV แม้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ต้องระมัดระวังหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่แนะนำให้ใช้แสง UV ในการฆ่าเชื้อโรคบนร่างกายมนุษย์
ที่มา รังสี UV ฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ หากใช้ถูกวิธี – Thaihealth.or.th | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
อ.เจษ เตือน!เทรน หลอดยูวีฆ่าเชื้อโควิด-19 เสี่ยงกระจกตาถลอก-ผิวไหม้ (brighttv.co.th)

4.การล้างจมูก ด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ ป้องกันการติดโรค โควิด-19 ได้

ยังไม่มีหลักฐานว่าการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือจะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ มีหลักฐานจำนวนหนึ่งบ่งชี้ว่าการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือจะทำให้เราหายจากหวัดธรรมดาได้เร็ว อย่างไรก็ตามการล้างจมูกไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ
ที่มา สิ่งที่อาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรค COVID-19 ตอนที่ 2 (samitivejhospitals.com)

5 .วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ สามารถป้องกันโควิด-19

วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบคือวัคซีนป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Pneumococcus ซึ่งไม่ใช่เชื้อไวรัส จึงไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาได้ โดยทั่วไปแพทย์แนะนำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำฉีดเพื่อป้องกันโรคปอดอักเสบ แต่คนทั่วไปไม่จำเป็นต้องฉีด

ที่มา 10 คำถามไขความจริงเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา | Bangkok Hospital
ข่าวปลอม อย่าแชร์! ฉีดวัคซีนปอดอักเสบ สามารถป้องกันการติดโรคโควิด-19 ได้ – ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม | Anti-Fake News Center Thailand

6. ทานยาปฏิชีวนะ ป้องกันโควิดได้

โรคโควิด-19 ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบ และทำให้เสียชีวิตได้ จึงทำให้หลายคนมีความพยายามที่จะหาวิธีป้องกัน จนมีคำถามที่ว่า หากรับประทานยาปฏิชีวนะจะสามารถช่วยป้องกันการติดโรคโควิด-19 ได้ จริงหรือไม่ คำตอบคือ ไม่จริง
เนื่องจากยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย รา มีฤทธิ์ยับยั้ง หรือฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่สามารถนำมารักษาหรือป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ได้ ดังนั้นไม่ควรกินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดโรคโควิด-19 ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อเพราะนอกจากจะไม่ช่วยป้องกันการติดโรคโควิด-19 แล้ว ยังทำให้เสี่ยงเกิดอันตรายจากผลข้างเคียง หรือมีอาการแพ้ยา ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ที่มา รับประทานยาปฏิชีวนะช่วยป้องกันการติดโรคโควิด-19 จริงหรือ?

7.กินกระเทียม – ขิง สามารถป้องกัน การติดโรคโควิด-19 ได้

ไม่จริง ขิง และกระเทียม เป็นสมุนไพรที่ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization–WHO) ระบุว่า แม้ว่า กระเทียมจะเป็น “อาหารที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ และมีสรรพคุณต่อต้านจุลชีพหลายชนิด ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า การกินกระเทียมสามารถปกป้องผู้คนจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้

หลายกรณี วิธีการรักษาเช่นนี้ไม่ได้เป็นอันตราย ตราบใดที่ยังคงปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์ที่มีหลักฐานอ้างอิง แต่ในบางกรณีก็อาจจะส่งผลเสียได้เช่นกัน

เซาธ์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ รายงานเรื่องของหญิงคนหนึ่งที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจากอาการคออักเสบอย่างรุนแรง หลังจากกินกระเทียมสด 1.5 กิโลกรัม
ที่มา ไวรัสโคโรนา : 6 ความเชื่อไร้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ในการป้องกันโรคโควิด-19 – BBC News ไทย
เรื่องแชร์ผิดๆ เกี่ยวกับสมุนไพรรักษา Covid-19

8 .การดื่มแอลกอฮอล์ช่วยป้องกันโรคโควิด-19 ได้

เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยจาก Cleveland Clinic, Xi’an Jiaotong University และ Case Western Reserve University ได้เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยเบื้องต้นโดยใช้ข้อมูลจากผู้ป่วย COVID-19 ในประเทศอังกฤษ จำนวน 12,937 ราย พบว่า ในกลุ่มคนอ้วนที่ดื่มสุราเป็นประจำเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตจาก COVID-19 เป็น 1.6 เท่า และคนอ้วนที่ดื่มสุราอย่างหนักเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตจาก COVID-19 เป็น 2.1 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่า การดื่มไม่ได้ลดโอกาสในการติดเชื้อ COVID-19 แต่อย่างใด (Fan, et al., 2020)

ในช่วงไล่เลี่ยกัน ทีมนักวิจัยจาก Yale School of Medicine ได้เผยแพร่ผลการศึกษาที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม พฤติกรรมทางสุขภาพ และความรุนแรงของ COVID-19 พบว่า การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงของการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงในผู้ป่วย COVID-19 ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ (Wendt, De Lillo, Pathak, De Angelis, & Polimanti, 2020)

จากผลการศึกษาล่าสุดทั้ง 2 ชิ้นดังกล่าวจึงเป็นการยืนยันว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มีความเสี่ยงในการป่วยหนักและเสียชีวิตจาก COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การดื่มสุราเพื่อหวังว่าจะช่วยลดความเสี่ยงของโรค COVID-19 นั้นไม่ได้ช่วยอะไรแล้วยังเพิ่มโอกาสในการเจ็บป่วยที่รุนแรงและเสียชีวิตจาก COVID-19 อีกด้วย ดังนั้น นอกจากมาตรการ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เว้นระยะห่างแล้ว การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงการไม่สูบบุหรี่ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยทางด้านสุขภาพในช่วงการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในประเทศไทยอีกด้วย
ที่มา ระวัง! ดื่มสุราไม่ช่วยฆ่า COVID-19 แถมเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตในคนอ้วนที่ติดเชื้อ
กรมควบคุมโรค’ ยืนยัน ‘ดื่มแอลกอฮอล์’ ไม่ช่วยฆ่าเชื้อโควิด–19

9. กลั้นหายใจเช็กปอด10วินาที เช็คปอดได้

 เว็บไซต์ Anti-Fake News Center Thailand ได้โพสต์แจ้งเตือนข้อมูลเกี่ยวกับวิธีตรวจการติดเชื้อ โควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยวิธีหายใจเข้าลึก ๆ แล้วกลั้นหายใจไว้ 10 วินาที ดูว่ามีอาการไอ แน่นหน้าอก หรือไม่ หากไม่มีอาการแสดงว่าไม่ติดเชื้อ ว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากกระทรวงสาธารณสุข แล้วพบว่าเรื่องดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีผลวิจัยทางการแพทย์ที่ออกมายืนยันว่า วิธีดังกล่าวสามารถใช้เช็กการติดเชื้อ โควิด 19 ได้ รวมถึงขณะนี้การตรวจหาเชื้อยังไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

ทั้งนี้ การตรวจปอดว่ามีการอักเสบจากการติดเชื้อหรือไม่ แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการฟังเสียงปอด ว่ามีความปกติในการหายใจหรือไม่ โดยจะทำร่วมกับการเอกซเรย์ปอดว่ามีฝ้าขาวผิดปกติไหม ส่วนอาการพื้นฐานของผู้ที่ปอดอักเสบติดเชื้อ ที่พบได้บ่อย คือ มีไข้ ไอ มีเสมหะ หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก และเจ็บเสียดบริเวณหน้าอกเวลาหายใจเข้า ซึ่งการตรวจและวินิจฉัยโรค จะต้องดำเนินการโดยทางการแพทย์เท่านั้น

          ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ
ที่มา กลั้นหายใจเช็กปอด10วินาที ข่าวมั่วตรวจโควิด-19ไม่ได้

10. กินโซดามิ้นท์ มีสรรพคุณบรรเทา และรักษาอาการโควิดได้

โซดามิ้นท์ (SODAMINT) คือยาลดกรดชนิดหนึ่ง ใช้บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย และ ใช้ในคนไข้โรคไต

รศ. ดร. เจษฎา อาจารย์ประจำภาควิชา ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลผ่านเพจเฟซบุ๊ค อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ระบุว่า อันนี้เป็นความเข้าใจผิดๆ ตามความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอาหารด่าง น้ำด่าง ที่ว่าถ้าร่างกายเรามีความเป็นด่าง จะสามารถสู้กับโรคไวรัสได้ ถ้าเป็นกรด ก็ติดเชื้อง่าย จึงให้ไปกินพวกยาที่ทำออกฤทธิ์เป็นด่าง

ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่ได้มีประโยชน์แบบที่ว่าเลย  ค่า pH หรือกรดด่างของเลือดในร่างกายเรา มีค่าค่อนข้างคงที่ ที่เป็นด่างอ่อนๆ ซึ่งปรับสมดุลโดยอัตราการหายใจของร่างกาย ไม่ใช่จากอาหารที่กินเข้าไป ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องพยายามเอาด่างเข้าร่างกายเหมือนที่อ้างกัน

เช่นเดียวกับ รศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ที่กล่าวว่า โซดามินต์ มันไม่ใช่ยาที่ปลอดภัย 100% ควรจะให้แพทย์เป็นผู้ดูแลและเป็นผู้จ่ายยาให้เท่านั้น
ที่มา  อย่าเข้าใจผิด “ยา” เหล่านี้ รักษา “โควิด-19” ไม่ได้
ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ – ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

11.ยาจีนเหลียนฮัวชิงเหวินแคปซูลรักษาโควิด-19 ได้

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ชี้แจ้งว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถรักษาโควิด-19 ได้ โดยผลิตภัณฑ์นี้ได้รับอนุมัติทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร จาก อย. ว่ามีสรรพคุณ “ช่วยขจัดพิษ ลดไข้ บรรเทาอาการหวัด ได้แก่ ไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย คัดจมูก ไอ น้ำมูก เจ็บคอ” เท่านั้น
ที่มา อย.เตือนซื้อยาจีน “เหลียนฮัวชิงเหวินแคปซูล” ออนไลน์ เสี่ยงปลอม
เช็คให้ชัวร์วิธี ‘ป้องกันโควิด-19’ อย่าเชื่อ 6 เรื่องเข้าใจผิด!

12.เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายผ่านอากาศได้ (airborne)

กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า การติดต่อของเชื้อโควิด-19 หลักๆ ยังคงเป็นการแพร่กระจายผ่านละอองฝอย หรือ Droplet ผู้ที่ได้รับเชื้อจะต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ไอ จาม ในระยะน้อยกว่า 90 เซนติเมตร หรือต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่างๆ  เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ผ่านทางเยื่อเมือกเท่านั้น

ในช่วงมีนาคมในปีที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เคยประกาศว่าโควิด-19 เป็น Airborne แต่ถ้าเราดูรายละเอียดให้ดี เราจะพบว่าองค์การอนามัยโลก ประกาศเตือนเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น

ทั้งนี้เนื่องจากขั้นตอนในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลบางขั้นตอนสามารถเปลี่ยน Droplet ให้เป็น Airborne ได้ เช่น การพ่นยา หรือการใส่ท่อเพื่อช่วยหายใจ แต่สถานการณ์ดังกล่าว ไม่ใช่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันโดยทั่วไป นักวิทยาศาสตร์หลายคนให้การสนับสนุนว่า ไม่ควรตัดความเป็นไปได้ในเรื่องการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ผ่านทางทางอากาศ โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีความแออัด หรือถ่ายเทอากาศได้ไม่ดี เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เราจึงควรหาข้อมูลเพิ่มเติมในการแพร่กระจายของโรค และหยือหยุ่นกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่ค้นพบใหม่อยู่เสมอ

ที่มา เชื้อโควิด-19 สามารถแพร่กระจายผ่านทางอากาศได้ไหม
เชื้อโควิด-19 สามารถแพร่กระจายผ่านทางอากาศได้ไหม

Facebook Comments Box
The short URL of the present article is: https://mistercheckman.com/q4VgK

Related Articles